ขณะนี้คุณกำลังอยู่ที่ เคมีออนไลน์/สารและการเปลี่ยนแปลง => การแยกสาร 1
Page selector : หัวข้อก่อนหน้า 0 2 3 4 5 6 หัวข้อถัดไป

 

- การกลั่น -

 

......การกลั่นเป็นวิธีที่ใช้แยกสารออกจากสารละลายที่เป็นของเหลว โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด การกลั่นจึงเป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีก ในขณะที่กลั่น ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำ จะกลายเป็นไอแยกออกมาก่อน ของเหลวที่มีจุดเดือดสูงขึ้น จะกลั่นแยกออกมาทีหลัง ซึ่งการกลั่นแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้

1) การกลั่นธรรมดา

......เป็นการแยกตัวถูกละลายออกจากตัวทำละลาย โดยตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีจุดเดือดต่างกันมาก(ประมาณ 80C ขึ้นไป) สารที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยได้เร็วกว่าสารที่มีจุดเดือดสูง เช่น น้ำเกลือ ประกอบด้วยน้ำมีจุดเดือด 100C และเกลือแกงมีจุดเดือด 1413C พบว่ามีจุดเดือดต่างกันมาก เราจึงสามารถใช้การกลั่นธรรมดาแยกออกจากกันได้ โดยน้ำซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าจะออกมาก่อน



2) การกลั่นลำดับส่วน

......เป็นการแยกตัวถูกละลายและตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่างกันเล็กน้อย (น้อยกว่า80C) โดยจะมีคอลัมน์บรรจุแก้ว หรือที่รู้จักกันว่า"หอกลั่น" เพิ่มขึ้นมา ซึ่งหอกลั่นนี้จะทำหน้าที่ให้สารระเหยออกมาได้ช้าลง โดยหอกลั่นยิ่งสูงเท่าไร สารที่ออกมาก็จะมีความบริสุทธิ์เพิ่มตามเท่านั้น แต่ก็จะทำให้เราต้องเสียเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นด้วย


 

ข้อสังเกต :

1. เมื่อสารระเหยออกมาแล้วเราก็จะมีตัวควบแน่นหรือ condenser ทำหน้าที่ให้สารนั้นควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง ซึ่งจะใช้น้ำเย็นหล่อโดยน้ำจะเข้าทางด้านล่างและไหลออกทางด้านบนดังรูป เพราะถ้าให้น้ำเข้าข้างบน น้ำก็จะไหลออกหมดโดยยังไม่ทันทำให้สารควบแน่นได้เลย

2. ถ้าเราไม่มีเครื่องมือในการลำดับส่วนแต่ต้องการแยกสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน เราสามารถทำได้โดยใช้การกลั่นธรรมดาหลายๆครั้งแทน

3. การกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบจะต่างจากการกลั่นลำดับส่วนธรรมดา คือ กลั่นลำดับส่วนธรรมดา สารจะออกมาทีละชนิดโดยสารที่มีจุดเดือดต่ำกว่าจะออกมาก่อน แต่การกลั่นน้ำมันดิบ สารทุกชนิดจะควบแน่นออกมาพร้อมกันแต่อยู่คนละชั้นของหอกลั่น โดยชั้นบนจุดเดือดจะต่ำ ชั้นล่างจุดเดือดจะสูง ดังรูป


4. การกลั่นลำดับส่วนบางครั้งไม่ได้แยกสารให้บริสุทธิ์ แต่แยกสารที่มีจุดเดือดใกล้กันไว้ด้วยกันเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ

5. การเลือกวิธีกลั่นว่าจะกลั่นธรรมดาหรือกลั่นลำดับส่วนปกติจะดูที่จุดเดือดเป็นหลัก ดังนั้นเราจึงประยุกต์ใช้ได้โดย ให้เราคิดภาพว่าถ้าเรานำของเหลวนั้นไปเผาแล้วมีสารเหลืออยู่ให้ใช้วิธีกลั่นแบบธรรมดา เพราะของแข็งกับของเหลวย่อมมีจุดเดือดต่างกันมาก แต่ถ้าคิดว่าเผาแล้วไม่เหลือสารใดอยู่เลยระเหยไปหมดก็ใหใช้การกลั่นลำดับส่วนแทน

ตัวอย่าง :
น้ำ + แอลกอฮอล์ ใช้กลั่นลำดับส่วน
น้ำ + เกลือ ใช้ กลั่นธรรมดา
น้ำหอม ใช้ กลั่นลำดับส่วน
น้ำมันปิโตรเลียม ใช้ กลั่นลำดับส่วน
น้ำโคลน ใช้ กลั่นธรรมดา
น้ำทะเลใช้กลั่นธรรมดา

 

ขณะนี้คุณกำลังอยู่ที่ เคมีออนไลน์/สารและการเปลี่ยนแปลง => การแยกสาร 1
Page selector : หัวข้อก่อนหน้า 0 2 3 4 5 6 หัวข้อถัดไป