ขณะนี้คุณกำลังอยู่ที่ เคมีออนไลน์/สารและการเปลี่ยนแปลง => การจัดจำแนกสาร 5
Page selector : หัวข้อก่อนหน้า 0 1 2 3 4 6 7 หัวข้อถัดไป

 

- ธาตุ -

   
  .......ธาตุ หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว ได้แก่ธาตุทุกตัวในตารางธาตุ

ธาตุสามารถอยู่ได้ 2 ลักษณะคือ

1.อยู่ในรูปของอะตอม เช่น เงิน(Ag) ทอง(Au) สังกะสี(zn)
2.อยู่ในรูปโมเลกุล เช่น ฟลูออรีน (F2) คอลรีน(Cl2) กำมะถัน (S8)


โมเลกุลคืออะไร ?
โมเลกุล คือ หน่วยย่อยที่สุดของสารนั้นและยังคงแสดงสมบัติของสารนั้นได้
โดย ธาตุที่อยู่ในรูปโมเลกุลเรียกว่า โมเลกุลของธาตุ แต่ถ้าเป็นสารประกอบจะต้องอยู่ในรูปโมเลกุลอยู่แล้วเรียกว่า โมเลกุลของสารประกอบ

Note : โมเลกุลจะต้องมี 2 อะตอมขึ้นไปเสมอ ยกเว้นธาตุหมู่ 8 ได้แก่ He Ne Ar Kr Xe Rn ที่ 1 โมเลกุลมี 1 อะตอม เรียกว่า โมเลกุลอะตอมเดี่ยว(monoatomic molecule)

ข้อควรรู้ :

1. โมเลกุลอะตอมเดี่ยวเรียกว่า monoatomic molecule
2. โมเลกุลอะตอมคู่ คือ 1 โมเลกุลมี 2 อะตอม เรียกว่า diatomic molecule
3. โมเลกุลที่มีมากกว่า 2 อะตอม เรียกว่า polyatomic molecule
4. ถ้าภายในโมเลกุลมีธาตุชนิดเดียวกันหมด เรียกว่า homonuclear molecule
5. ถ้าภายในอะตอมมีธาตุต่างชนิดกันอยู่ด้วย เรียกว่า heteronuclear molecule


สัญลักษณ์และการเรียกชื่อธาตุ

เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันเราจึงกำหนดสัญลักษณ์ของธาตุขี้นมา


: เริ่มแรก
:

จอห์น ดอลตัน(John Dalton) นักเคมีชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่เสนอให้ใช้สัญลักษณ์ธาตุ ตามแผนภาพด้านล่าง

: ต่อมา :
โจนส์ จาคอบ เบอร์ซีเลียา นักเคมีชาวสวีเดน
เสนอให้ใช้อักษรเป็นสัญลักษณ์ธาตุ และใช้มาถึงปัจจุบัน


โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ :

1. ใช้อักษรตัวหน้าของชื่อภาษาอังกฤษ และเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่น Carbonใช้สัญลักษณ์ C
2. ถ้าตัวหน้าซ้ำให้ใช้ตัวถัดไปตัวใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมเป็นตัวพิมพ์เล็ก เช่น

Carbon ใช้สัญลักษณ์ C
Calcium ใช้สัญลักษณ์ Ca

3. ธาตุใดที่มีชื่อมาจากภาษาละตินเดิมอยู่แล้วก็ให้ใช้ต่อไป โดยมีทั้งสิ้น 11 ธาตุ ได้แก่ Fe Au Ag Cu Hg Sn Na K Pb W Sb


ประเภทของธาตุ

ธาตุมีได้ 3 ประเภทคือ โลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ

สมบัติของธาตุ

ส่วนกึ่งโลหะ(เมตัลลอยด์)มีสมบัติไม่แน่นอนแต่จะก้ำกึ่ง ระหว่างโลหะ กับอโลหะ
ขณะนี้คุณกำลังอยู่ที่ เคมีออนไลน์/สารและการเปลี่ยนแปลง => การจัดจำแนกสาร 5
Page selector : หัวข้อก่อนหน้า 0 1 2 3 4 6 7 หัวข้อถัดไป